วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติหลวงปู่เจียม อติสโย

 ประวัติหลวงปู่เจียม อติสโย
             หลวงปู่เจียม อติสโย เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเป็นยอดพระเกจิอาจารย์แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือรูปหนึ่ง เป็นนักบุญแห่งอีสานใต้ ท่านเป็นพระผู้เข้มขลังทางพระเวทย์ มีตบะสมาธิ และมีวิธีญานอันแกร่งกล้าจนเป็นที่กล่าวขานยกย่องยอมรับในหมู่ทหารหารที่ปฎิบัติราชการตามแนวประเทศไทย-กัมพูชา ตลอดทั้งบรรดาศิษยานุศิษย์ ญาติโยมที่รู้จักทั้วไป
        หลวงปู่เจียม อติสโย  เกิดวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2454 ตรงกับวันขึ้น 15ค่ำเดือน 1ปีกุน ณ บ้านดองรุน ต.ปะเตียเนียง อ.มงคลบุรี  จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา
        หลวงปู่เป็นบุตรของ นายคำ เดือมคำ  กับนางรุน เดือมคำ  มีพี่น้องร่วมบิดามารดา  เดียวกัน 4 คนคือ
         1 นายเจียม นวนสวัสดิ์ (หลวงปู่เจียม อติสโย)
         นางคำ วันยิง (ขณะนี้กำลังอยู่ในประเทศกำพูชาประชาธิปไตย)
         3 นายคำ ยิว   (ถึงแก่กรรมแล้ว)
         4 นางคำ กิว   (ถึงแก่กรรมแล้ว)
         หลวงปูเจียมเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนประจำอำเภอมงคลบุรีเมื่ออายุประมาณ10ขวบได้เรียนทั้งภาษาเขมรและภาษาฝรั่งเศสตามที่หลักสูตรกำหนด  ในขณะนั้นประเทศเขมรหรือกัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศส  เมื่อเรียนจบชั้นประถมแล้ว  ได้สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในตัวจังหวัดพระตะบอง  แต่เรียนได้เพียงสามเดือน  ก็ต้องออกจากโรงเรียนเนื่องปัญหาทางด้านเศรษฐกิจความยากจนและความเดือนร้อนอันเป็นผลเกิดจากภาวะสงครามและการสู้รบในขณะนั้น  เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว  หลวงปู่ได้ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวโดยทำนาเป็นอาชีพหลัก  และยังประกอบอาชีพการค้าเพิ่มเติบ  เช่น ค้าข้าว ค้าวัว รวมทั้งเป็นช่างไม้ด้วยซึ่งทำให้ฐานะทางครอบครัวของหลวงปู่มั่นคงยิ่งขึ้น  หลวงปู่ได้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างราบรื่นตลอดมา จนกระทั้งหลวงปู่มีอายุเข้าวัยกลางคน
          เนื่องจากประเทศเขมรขณะนั้นตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส หลวงปู่เป็นคนหนึ่งที่มีความรักชาติแผ่นดินและรักบ้านเกิดต้องการให้ประเทศชาติมีอิสรภาพและเอกราช  จึงได้เข้าร่วมร่วมมือกับชาวเขมรรักชาติ”กลุ่มเขมรเสรี”จัดตั้งกองกำลังเพื่อกอบกู้ประเทศชาติโดยปฏิบัติการสู้รบกับทหารฝรั่งเศสและผู้ให้การสนับสนุน  ซึ่งส่วนมากจะสู้รบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา   จากการปะทะและสู้รบกับฝ่ายที่มีกำลังเหนือกว่าหลายครั้ง ทำให้กลุ่มเขมรเสรีถูกปราบปรามอย่างหนักเพราะกำลังบางส่วนต้องหลบหนีซ่อนตัวอยู่ตามป่าเขา และกำลังบางส่วนได้หลบหนีเข้ามายังเขตจังหวัดชายแดนประเทศไทย แต่ละคนต้องหนีเอาตัวรอดจากบ้านเรือนถิ่นที่อยู่และครอบครัวอันเป็นที่รัก คิดว่าสักวันหนึ่งเมื่อมีความพร้อมและรวมตัวกันได้ จะกลับมาต่อสู้เพื่อ กอบกู้เอกราชของประเทศเขมรต่อไป
      หลวงปู่ได้เข้ามาประเทศไทย ทางเขตชายแดนจังหวัดสุรินทร์ประมาณ พ.ศ.2485  โดยเข้ามากับพระสงฆ์ชาวเขมรชื่อพระครูดีได้เดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆค่ำไหนก็นอนที่นั้น  จนในที่สุดก็เดินทางมาถึงหมู่บ้านจารพัต  อ.ศรีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  ได้เข้าพักอาศัยอยู่ที่วัดบ้านจารพัต(อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านจารพัตเป็นเวลา1คืน รุ่งเช้าเดินต่อมาถึงบ้านราม และได้พักอาศัยที่บ้านของครูเติมประมาณ 3 คืน จากนั้นเดินทางต่อมาถึงบ้านบรมสุข และพักอาศัยอยู่กับบ้านครูจุมซึ่งเป็นญาติกับนายเมาออกจากบ้านบรมสุข แวะที่บ้านมะลูจรุง(ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านบรมสุขและได้แยกทางกับพระครูดีที่บ้านมะลูจรุงความตั้งใจของหลวงปู่ขณะนั้นคือ จะกลับประเทศเขมรเพื่อกอบกู้บ้านเมืองต่อไป หลวงปู่ได้เดินทางผ่านบ้านทัพกระบือ บ้านตราด บ้านลำดวน และพักที่วัดทักษิณวารีศิริสุข (วัดใต้)ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อหว่าง ต่อมาอาจารย์ขัน คุณแม่เฮียะ ปานเจริญ คุณพ่อเภา คุณแม่เสน คงวัน โยมอุปัฏฐากหลวงพ่อหว่างได้ขอเป็นเจ้าถาพจัดพิธีอุปสมบถให้กับโยมเจียม (หลวงปู่เจียม)ในวันที่4เดือนกุมภาพันธ์พ.ศ.2501เวลา10.55ตรงกับวันขึ้น15ค่ำเดือน3 หลวงพ่อหว่าง ธัมมโชโต เป็นพระอุปชฌาย์ พระครูเปรม วัดบ้านจารย์กับพระครูยิ้มวัดหนองโย­-โคกปืด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ขณะนั้นหลวงปู่อายุได้46ปี
    หลวงปู่ได้จำพรรษาแรกที่วัดทักษิณวารีศิริสุข ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงพ่อหว่าง ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่มีวัตรปฎิบัติอย่างเคร่งครัดนอกจากนั้นแล้วหลวงปู่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงพ่อเปราะ” “หลวงพ่อนตที่วัดสุวรรณรัตน์ (วัดเหนือ)ซึ่งเป็นวัด ในหมู่บ้านลำดวน ต่อมาหลวงพ่อทั้งสองแนะนำให้หลวงปู่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หลวงพ่อมินเจ้าสำนักวัดคฤห์ในจังหวัดสุรินทร์   ซึ่งป็นพระนักปฎิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำและความเมตตาจากหลวงพ่อมินเป็นอย่างดี หลวงปู่ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและฝึกปฎิบัติที่ครูอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเป็นอย่างดียิ่งภายหลังจากออกพรรษาแล้วหลวงปู่ได้กราบลาหลวงพ่อหว่าง เพื่อเข้าปริวาสกรรมและออกธุดงค์เพื่อประพฤติปฎิบัติธรรมตามแนวทางที่เรียนรู้มา  โดยครั้งแรกออกธุดงค์ตามเส้นทางไปยังเขตจังหวัดปราจีนบุรี นครนายกสระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร  สุโขทัย  พิษณุโลก  พิจิตร เพชรบูรณ์  ย้อนกลับมาทางลพบุรี สระบุรีอีกครั้ง และเลยไปถึงจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง อำเภอศรีราชา ข้ามไปอำเภอเกาะสีชัง และกลับเข้ามาในตัวจังหวัดชลบุรีอีกครั้ง ขณะที่หลวงปู่จะธุดงค์กลับจังหวัดสุรินทร์ โยมคนหนึ่งนิมนตพระจากอำเภอศรีราชา 2 รูป ผ่านมาและพบหลวงปู่เข้า จึงได้นิมนต์หลวงปู่ให้ไปจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์เขาหลุมยาง  อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ซึ่งหลวงปู่ได้ไปจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์เขาหลุมยาง1พรรษา เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้เข้าปริวาสกรรมที่วัดสาวชะโงกกับอาจารย์สี พระอาจารย์เชื้อ และออกธุดงค์มาทางเขตอำเภอพนมสารคาม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี ได้จำวัดที่โรงทานบริเวณต้นโพธิ์2คืนธุดงค์เข้าจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก ได้จำวัดที่วัดป่ามะไฟจังหวัดนครนายก1คืน รุ่งเช้าออกธุดงค์ไปทางเขตอำเภอหินกอง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี  ผ่านไปจังหวัดลพบุรี ได้ไปจำวัดอยู่ค่ายโคกกระเทียม  ออกจากโคกกระเทียม ธุดงค์ไปทางโคกสำโรง อำเภอตากฟ้าพร้อมกับพระสงฆ์ 4 รูป  คือพระอาจารย์สี  พระอาจารย์เชื้อ  พระอาจารย์เย็นและพระอาจารย์สว่าง  ออกจากอำเภอตากฟ้าธุดงค์ไปทางจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ในเขตอำเภอลาดยาว เข้าจังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ผ่านอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ลงมาเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอำเภอแม่สอด ซึ่งขณะนั้นอยู่ในช่วงปีพ.ศ.2502ออกจากจังตากลงมาทางกำแพงเพชร ชัยนาท สุพรรณบุรี กาณจบุรี ในขณะที่เดินผ่านจังหวัดกาณจนบุรีได้ศึกษาธรรมะกับหลวงพ่ออุตมะ รัมโถภิกขุ วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรีด้วย จากกาณจนบุรี ธุดงค์ผ่านมาทางจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร อำเภอสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา อำเภอกบินทร์บุรี(จังหวัดปราจีนบุรี) (อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา) อำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง อำเภอประโคนชัย (จังหวัดบุรีรัมย์) บ้านบักดอก นิคมสร้างตนเองอำเภอปราสาท (จังหวัดสุรินทร์) เพื่อกลับมาจำพรรษาที่วัดทักษิณวารีสุข หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่อีก 1 พรรษา ในปีพ.ศ.2503
       เมื่อออกพรรษาหลวงปู่ได้ไปสมาทานที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรีประมาณ 1 เดือน ก็ออกธุดงค์ไปยังวัดสาวชะโงก และจังหวัดอื่นๆอีกหลายจังหวัดและก็กลับมาจำพรรษาที่วัดทักษิณวารีศิริสุขในปีพ.ศ.2504 เมื่อออกพรรษาพรรษาหลวงปู่ก็ออกธุดงค์สมาทานอีกเช่นเดิม และเมื่อใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่ก็จะกลับจำพรรษาที่วัดทักษิณวารีศิริสุขอีกเช่นเคย(ปีพ.ศ.2505) หลังจากออกพรรษาแล้วหลวงปู่กราบลาหลวงพ่อไปจำพรรษาอยู่ที่วัดปราจีนบุรี 1 พรรษา(คือในปีพ.ศ.2506)และเมื่อออกพรรษาแล้วได้พาญาติโยมนำกฐินมาทอดถวายที่วัดสุวรรณรัตน์ (วัดเหนือ) และขอจำพรรษาอยู่ที่วัดสุวรรณรัตน์ในปีพ.ศ.2507 หลวงปู่ได้วนเวียนวัตรปฎิบัติเช่นนี้อย่างต่อเนื่องทุกปี คือพอออกพรรษาก็จะออกธุดงค์ และเมื่อใกล้จะฤดูเข้าพรรษา  หลวงปูก็จะกลับมาจำพรรษาอยู่เช่นนี้เรื่อยไป  เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า13ปี ช่วงระยะเวลาดั้งกล่าวหลวงปู่ได้ธุดงค์ไปเกือบทุกภูมิภาคทุกจังหวัดในประเทศไทย ได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม ได้ฝึกปฎิบัติด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้พบปะสนทนาแลกเปลียนแนวทางในการประพฤติปฎิบัติธรรมกับพระอาจารย์ต่างๆหลายรูป เช่น อาจารย์คำษา ในเขตอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย อาจารย์คำปัน ในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมอาจารย์วงษ์ ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี เป็นต้น
   ในระยะหลังตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 หลวงปู่จะจำพรรษาอยู่ที่วัดสุวรรณรัตน์ (วัดเหนือ) เท่านั้น และประมาณช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2513 ภายหลังที่หลวงปู่ได้กลับจากธุดงค์แล้ว โยมเดียม โยมบาน โยมสมร ผู้ใหญ่พานได้ไปนิมนต์ให้หลวงปู่มาสร้างสำนักสงฆ์ที่หมู่บ้านหนองยาว ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2513 และไดจำพรรษาที่สำนัดสงฆ์แห่งนั้นด้วยซึ่งต่อมาสำนักสงฆ์แห่งนั้นคือวัดอินทราสุการามในปัจจุบัน
      การมรณภาพ
ย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงปู่เจียมเริ่มมีอาการเหน็ดเหนื่อย สายตาพร่ามัว ประสาทหูฟังไม่ค่อยชัด คณะศิษยานุศิษย์ได้นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ ครั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล หลวงปู่เจียมก็ยังต้องรับกิจนิมนต์จากชาวบ้านญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขไม่เว้นแต่ละวัน บ้างต้องไปนั่งประพรมน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้ลูกศิษย์ลูกหาสม่ำเสมอ
    กระทั่งเมื่อเวลา 16.59 นาฬิกา ของวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2549 คณะศิษยานุศิษย์วัดอินทราสุการาม ได้ตีระฆังรัวกลองเป็นชุด เพื่อแจ้งเหตุว่า บัดนี้ชาวเมืองสุรินทร์ได้สูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญ คือ หลวงปู่เจียม อติสโย ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคไตวาย ภายในกุฏิวัดอินทราสุการาม หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการอาพาธจากโรคไตมาเป็นเวลานาน ประกอบกับวัยที่ชราภาพมาก สิริอายุรวม 96 พรรษา 47 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เคารพนับถือเป็นยิ่งนัก
คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์รวมไปถึงชาวบ้านได้นำร่างหลวงปู่บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งไว้ ณ ศาลาการเปรียญวัดอินทราสุการาม เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้รำลึกถึงคุณงามความดี สำหรับกำหนดการเบื้องต้น จะมีการบรรจุศพหลวงปู่เจียมที่วัดอินทราสุการาม เป็นเวลา 15 วัน เพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้ร่วมบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกัน

หลวงปู่... ในความทรงจำที่ไม่มีวันลืมเลือน พระนักบุญ แห่ง... อีสานใต้

หลวงปู่..ในความทรงจำที่ไม่มีวันลืมเลือนพระนักบุญแห่ง...
อีสานใต้ 
จนถึงขณะที่หลวงปู่วัย  ๙๖  ปี  ท่านก็ยังเป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติงดงาม
สุขภาพกายแข็งแรงตามวัย  สุขภาพจิตแจ่มใสเบิกบาน  
มีมนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศบริจาคทานเป็นกิจวัตรประจำวัน  
และยังมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์พัฒนาให้บวรพระพุทธศาสนา  
และสังคมชนบทเจริญรุ่งเรืองสืบไป  ด้วยจิตใจที่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็งดังภูผา  
เป็นที่เคารพ  บูชา  ของพุทธศาสนิกชน  ญาติโยม  และประชาชน  ทั่วไป  
หลวงปู่มีแต่ความเมตตา  กรุณา  ได้พยายามช่วยเหลือรักษา
ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยทั้งด้านร่างกาย  ด้านจิตใจ  โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย 
หรือเหนื่อยยากบุญบารมีคุณงานความดีของหลวงปู่ได้รับการกล่าวขานเลื่องลือระบือไกล  
ได้รับพระราชทานสัมนศักดิ์เป็น  “ พระครูอุดมวรเวท ”
                คณะศิษยานุศิษย์  ขอน้อมรำลึก  โดยรวมดวงจิตให้เป็นหนึ่งด้วย  เป็นเครื่องสักการบูชา  หลวงปู่เจียม  จะเทิดทูนยกย่องเคารพนับถือให้สูงยิ่งตลอดไป
                ลักษณะของความเชื่อรูปแบบที่รู้มา 
                ในความเป็นจริงอย่างหนึ่งที่ยังไม่มีบทพิสูจน์  แต่ก็มีความเชื่อว่ามีจริง  
เช่น  เราเชื่อว่าบุญ  บาป  มีจริง  สิ่งศักดิ์สิทธิ์  โชคลาง  อิทธิฤทธิ์  ปาฏิหาริย์  
รวมทั้งความเชื่ออื่น ๆ ที่เรียกว่าคุณไสย์  นี่คือเป็นเรื่องที่เป็นที่ไปที่มาของวัตถุมงคล  
หรืออาจจะเรียกเป้นอย่างอื่นก็แล้วแต่  ซึ่งเป็นประเภทเครื่องรางของขลังที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์  บันดาลให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้  ตามที่ใจปรารถนาได้  เช่น  สามารถเหาะเหิน 
เดินอากาศ  หายตัว  ดำดิน  และแปลงกาย  รวมทั้งอยู่ยงคงกระพัน  ยิงไม่ออก  แทงไม่เข้า  
จะมีกรรมวิธีหลายอย่างแตกต่างกันไป  บางอย่างต้องใช้วัตถุเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง  
บางอย่างรวมหลายอย่างแล้วบริกรรมคาถา  บางอย่างบริกรรมคาถาอย่างเดียว  
บางอย่างเพียงแต่พกพา  ก็มีผลจากการพกพา  ซึ่งมีทั้งให้คุณและให้โทษอยู่ที่ว่าเจตนาจะทำให้เป็นคุณหรือเป็นโทษ  ส่วนผู้ที่ถูกกระทำก็จะเสียหาย  หรือเรียกว่าโทษเป็น  
และยึดถือเป็นเรื่องดีงามอีกประการหนึ่งก็คือ  ประสบโชคลาภสำเร็จในธุรกิจ  
ได้มหานิยม  มีคนรักใคร่นับถือ  มีบริวาร  แคล้วคลาดจากศัตรู  ภัยอันตราย
          อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์...เกร็ดตำนานในพุทธศาสนา 
                ในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ถ้าจะพูดไปมากก็จะกลายเป็นว่าอวดอุตริมนุสธรรมเป็นการอวดอ้างที่ไม่สมควร  ที่จะนำมากล่าวอ้าง  พูดคุยกันเล่น  
ในทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึง  เรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ไว้หลายตอน
เช่นเมื่อคราวที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ  เดินได้  ๗  ก้าว  จัดพิธีแรกนาขวัญ 
 ผูกอู่ไว้ใต้ต้นหว้า  เมื่อตอนบ่ายคล้อยไปแล้วเงาไม้  
ยังไม่เคลื่อนไปตามแสงอาทิตย์ยังบังเป็นร่มเงาให้อยู่ที่เจ้าชายสิทธัตถะนอนอยู่  
และภายหลังตรัสรู้แล้ว  พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ทุกคนทำท่าทีกระด้าง  
กระเดื่อง  ไม่เคารพ  กราบไหว้  พระพุทธเจ้าจึงแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์โดยการเหาะขึ้นไปกลางอากาศ  บันดาลให้เกิดเป็นฝนโบกขรพรรษ์เป็นเม็ดสีชมพู  ผู้ใดต้องการให้เปียกก็เปียก  ผู้ใดไม่ต้องการให้เปียกก็ไม่เปียก  เมื่อเปียกแล้วก็สามารถระลึกชาติได้
                             ความเชื่อในพลังจิต 
                การที่จะดลบันดาลให้เป็นอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้นั้น  นอกจากจะเป็นการบริกรรมคาถา  และวัตถุอื่น  มีปัจจัยอื่น ๆ แล้วคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดคือพลังสมาธิที่แรงกล้าเป็นการกำหนดจิต  หรือรวมกระแสจิตให้เป็นหนึ่ง  พลังสมาธิกระแสจิตจะดลบันดาลให้เป็นไปตามจิตปรารถนา  ซึ่งการที่จะฝึกตนให้มีสมาธิหรือมีกระแสจิตที่มีพลังได้ในระดับนี้  จะต้องอาศัยความเพียรพยายามอย่างสูงสุดความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยว  แน่วแน่และมั่นคง  แน่นอนที่ต้องการให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้  เมื่อสมาธิแก่กล้าแล้ว  ก็จะบันดาลให้ได้ที่จิตต้องการ

ประสบการณ์ที่เล่าขานถึงหลวงปู่

ประสบการณ์ที่เล่าขานถึงหลวงปู่ 
                ผู้เขียนได้เคยฟังคำเล่าขานกันหลายครั้ง  กล่าวอ้างว่าผู้เล่าเรื่องนี้เป็นศิษยานุศิษย์  จากจังหวัดนครสวรรค์บ้านอยู่แถว ๆ อำเภอหยุหคีรีบรรพตนิสัยหรือแถว ๆ อำเภอไพศาลี  จำไม่แม่น  เล่าให้ฟังว่าในพรรษาปีหนึ่งประมาณปี  ๒๕๐๒  หรือ  ๒๕๐๓  นี่แหละในฤดูช่วงดำนา  คงราว ๆ เดือน กรกฎาคม  ถึงสิงหาคม  เขาได้ไปไถนาที่ริมชายป่าใกล้กับเชิงเขาลูกหนึ่งเป็นปกติวิสัย  กิจวัตรประ  จำวันของเขา  ซึ่งการปักดำใกล้จะเสร็จแล้ว  บังเอิญในเช้าวันนั้น  ฝนตกพรำตั้งแต่เช้ามืดจนสายฝนก็ตกกระหน่ำแบบไม่ลืมหูลืมตา  แกไถนาจนเหนื่อยอ่อน  ทนความหนาวเปียกไม่ได้  ด้วยความหิวเพราะสายแล้วทางบ้านก็ยังไม่นำข้าวส่งเพราะคงจะรอให้ฝนซาก่อน  จึงจะนำข้าวมาส่งให้จึงหยุดความแล้วปลดแอกปลดไถ  ปล่อยความให้ไปเล็มหญ้าข้างๆจอมปลวกกลางนาที่กำลังไถและแล้วแกก็ขึ้นไปบนจอมปลวกที่เป็นเนินดินขนาดใหญ่กลางนา  หวังจะได้หลบฝนที่กำลังเทกระหน่ำลงมาในขณะที่  วิ่งหลบฝนอยู่  หูก็ได้ยินเสียงไอ  ได้ยิน  ๒ – ๓  ครั้งติดต่อกัน  ก็เงี่ยหูฟัง  จึงเหลือบเห็นร่มกระโจมกลดซึ่งอยู่ห่างไกลที่ไถนา  ประมาณ  ๑๕  เมตร  ก็ตรงไปได้พบกับพระธุดงค์ในร่มกรดนั้นกำลังนั่งทำสมาธิอยู่  จึงล้มกราบ๓หนแล้วก็กล่าวคำทักทาย  ปราศรัยไต่ถามความว่าพระธุดงค์ได้มาปักลดเป็นเวลา  ๑  เดือนกว่า ๆ แล้ว  และท่านก็เล่าให้ฟังว่า  ได้เห็นผู้เล่าไถนา ดำนาทุกวันเหมือนกัน ก็ไถรอบ ๆจอมปลวกที่ปักกลด นั้นแหละจอมปลวกใหญ่ที่อยู่กลางเนินนา ชายป่าเนินเขานั้น  ความจริงเป็นจอมปลวกมีป่าโปร่ง  สามารถมองเห็นได้ทั่ว ๆ ไป  น่าจะได้รู้ได้เห็นเพราะไถนา ดำนาเป็นเวลาแรมเดือนแล้ว ทำไมจึงไม่เห็นกลดที่ปักอยู่  ซึ่งเป็นเรื่องแปลก  ในใจก็รู้สึกตื่นเต้นที่พระธุดงค์บอกว่ามาปักกลดเป็นเดือนแล้วเมื่อพูดคุยกันแล้วก็มีความเลื่อมใส  ศรัทธาจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ และได้นำเรื่องนี้ไปเล่าให้ลูกเมีย  และชาวบ้านฟัง ชาวบ้านก็มีความปิติยินดี  พามากันกราบไหว้ สนทนา และนำอาหารถวายเป็นประจำ ตลอดพรรษา และฝากตัวเป็นลูกศิษย์  พระธุดงค์นั้นก็คือ  หลวงปู่เจียม  อติสโย  นั่นเอง
          การที่พระธุดงค์มาปักกลดทำสมาธิ  ปฏิบัติธรรมนั้น  ถ้าเป็นปกติก็มองเห็นแน่ ๆ เพราะมาปักกลดอยู่แรมเดือนแล้วน่าจะเห็นแต่ที่ไม่ได้เห็นเพราะท่านต้องการความวิเวกไม่ต้องการให้ผู้คนไปยุ่งเกี่ยวด้วย  จึงต้องอยู่ในมิติหนึ่ง  แต่การที่แสดงตัวให้เห็นนั้นเข้าใจว่า  เพราะสงสารชาวนาที่กำลังเหนื่อย  หิวข้าวและเปียกฝนอยู่และมีความต้องการให้หลบฝนอยู่ที่กลดด้วย  ทำให้ได้เห็นและพบปะพูดคุยกัน
       ที่ได้นำมาบอกกล่าวเล่าขานไว้นี้  เป็นตัวอย่างหนึ่งในอีกหลาย ๆ ตัวอย่างพวกเราซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ด้วยกัน  ก็จะไม่รู้เรื่องอะไรเลย  ถ้าพวกเราไม่ได้นำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง  พวกเราจะเห็นว่า  ในการทำบุญต่ออายุหลวงปู่ใสแต่ละปีจะมีศิษยานุศิษย์จากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเดินเข้าร่วมทำบุญ  และเล่าขานเรื่องที่ได้ยินได้ฟังนี่แหละ บางครั้งก็เล่าถึงความสำเร็จในธุรกิจหน้าที่การงานการค้าขายประกอบการบางครั้งเล่าถึงการคลาดแคล้วจากภัยอันตรายจากการสู้รบกับศัตรูแคล้วคลาดจากการใช้รถใช้ถนน  อันเป็นผลสืบเนื่องจากพลังใจที่ได้รับวัตถุมงคลจากหลวงปู่  ด้วยจิตใจที่ที่เราเคารพรัก เลื่อมใสศรัทธาในจริยาวัตรของหลวงปู่ที่ท่านเคร่งครัดในจริยาวัตร มีสมาธิแก่กล้าอย่างเสมอต้นเสมอปลาย  ด้วยจิตใจที่มีความเชื่อมั่นจึงเป็นแรงบันดาลใจให้พลังจิตเป็นไปตามที่เราปรารถนาอันเป็นความต้องการที่ดีที่งามที่หลวงปู่ต้องการมอบให้ทุกคนด้วยท่านมีจิตในเมตตาสงสารให้พวกเรามีความสุขกาย  สุขใจ  หลุดพ้นจากทุกข์ภัยอันตราย  หรือ ปลดปล่อยให้เบาบาง  จากหนักเป็นเบา  ตายเป็นรอดได้

ด้านการพัฒนาจากหลวงปู่เจียม อติสโย

1.ปี2513 ก่อตั้งสำนักสงฆ์บ้านหนองยาว ต.กระเทียม อ.สังขะ จ.สุรินทร์
2.ปี2519 ได้พัฒนาสำนักสงฆ์จัดตั้งเป็นวัด วัดอินทราสุการามร่วมกับพุทธศาสนิกชนและญาติโยมจนได้รับการประกาศและอนุญาต
3.ปี2515-2530 ได้ช่วยการก่อสร้างวัดในตำบลสะเดา และวัดบ้านระมาดค้อ อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์จนเสร็จสมบูรณ์
4.ปี2515 จัดตั้งโรงเรียนปริญัติธรรม พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาพระธรรมวินัย
5.ปี2537 จัดตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
6.ปี2537 ก่อสร้างอาคารเรือนพยาบาลโรงเรียนกระเทียมวิทยา (สังกัดกรมสามัญศึกษาตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
7.ปี2537 ตั้งกองทุน   ”หลวงปู่เจียม อติสโย” เพื่อพัฒนาการศึกษาแก่โรงเรียนสังขะสังกัดกรมสามัญศึกษา อ.สังขะ จ.สุรินทร์
8.ปี2533 ก่อสร้างสถานีอนามัยบ้านหนองยาว ต.กระเทียม อ.เภอสังขะ จ.สุรินทร์ มูลค่า1.2ล้านบ้าน
9.ปี2535 จัดหาทุนสมทบก่อสร้างตึกสงฆ์ อาพาธ โรงบาลในจังหวัดสุรินทร์
10.ให้ทุนการสนับสนุนการจัดชื่อวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ ให้แก่ โรงบาลสุรินทร์ โรงบาลสังขะและสถานีอนามัยบ้านหนองยาว
11.ปี2540 จัดชื้อที่ดินพร้อมทั้งญาติโยม พุทธสนิกชน รวมทั้งข้าราชการในหน่วยต่างๆ รวมกันปลูกป่าถาวรจนได้รับโล่รางวัลชนะเลิศจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
12.จัดตั้งกองทุนสวัสดิการข้ารการและลูกจ้างประจำ ในสังกัด สำนักงานการประถมศึกษา มูลค่า 300,000 บาท
อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
13.จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือนักเรียนยากจนและขาดแคลนในสำนักงานการปฐมศึกษา อ.สังขะ จ.สุรินทร์
มูลค่า 200,000 บาทและมอบทุนช่วยเหลือในกิจการต่างๆอีกมากมาย เช่นกองทุนอาหารกลางวัน กองทุนช่วยโรงเรียน นักเรียนในสังกัด อ.สังขะ อ.ลำดวน อ.บัวเชด อ.กาบเชิง และ อ.กิ่งศรีณรงค์
14.สร้างศาลาประชาคมในที่ต่างๆอีกไม่ต่ำกว่า 61 แห่ง
หลวงปู่เจียมเป็นที่พึ่ง เป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชน ญาติโยมและประชาชนทั่วไป หลวงปู่มีแต่ความเมตา
ได้พยายามช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ได้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก บุญบารมี
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชนีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมหลวงปู่เป็นการส่วนพระองค์   ด้วยจากบุญบารมีคุณงามความดี และผลงานที่เป็นประจักษ์แก่สายตาของสาธารณชนทั่วไป เหมาะที่สุดแล้วสำหรับคำกล่าวขาน
                              "นักบุญแห่งอีสานใต้"

ที่มาของการจัดสร้างวัตถุมงคล

 ที่มาของวัตถุมงคล 
                การลงประวัติ  “ วัตถุมงคล ”  ครั้งนี้  เป็นการลงเพื่อรวบรวมวัตถุมงคลที่หลวงปู่สร้างและอนุญาตให้สร้าง  แต่ยังไม่สามารถรวบรวมได้ครบสมบูรณ์เพราะเหตุว่าหลวงปู่สร้างแล้วมอบให้แก่ศิษยานุศิษย์  และพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญ  และมาขอพรขอบารมีจากหลวงปู่  จึงไม่สามารถรวบรวมได้ครบสมบูรณ์  แต่จำเป็นต้องหาข้อมูลและรวบรวมปรับปรุงต่อไป
                อนึ่ง  ในการรวบรวมวัตถุมลคลของหลวงปู่มาลงในครั้งนี้  โดยความจริงแล้ว  หลวงปู่ไม่อยากให้นำมาลงเพราะเหตุว่า  หลวงปู่ไม่ต้องการอุตริอวดอ้างสรรพคุณของวัตถุมงคลของหลวงปู่  ซึ่งหลวงปู่มักจะพูดให้ฟังอยู่เสมอว่า  “ วัตถุมงคลเป็นแค่วัตถุ  หากผู้นำไปไม่เคารพบูชา  ไม่ปฏิบัติชอบแล้ว  ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ”  ผู้เขียนเลยสอบถามหลวงปู่ว่า  “ หลวงปู่ครับ  วัตถุมงคลของหลวงปู่  รุ่นไหนดีที่สุด ”  หลวงปู่ยิ้มแล้วพูดเป็นนัย ๆ ว่า  “ ก็ดีทุกรุ่นนั่นแหละ  ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติ ”  แล้วพูดต่อไปว่า  “ มีแต่ผู้ประสบพบ  พุทธคุณบารมีมาพูดบอกหลวงปู่ว่าแคล้วคลาดอย่างนั้นอย่างนี้  จะเชื่อหรือไม่ก็ไม่ว่า  ก็แล้วแต่คน ”
กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่ 
                หลวงปู่มีกิจวัตรปฏิบัติอย่างไรในแต่ละวัน  หลวงปู่ตอบว่า  “ หลวงปู่จะเข้าจำวัดในเวลาประมาณ  ๑๗.๐๐  น.  และจะตื่นเวลา  ๒๒.๐๐  น.  หากอากาศร้อนหลวงปู่จะสรงน้ำแล้วครองผ้าจีวรสวดมนต์ภาวนาอยู่ในห้องและหลวงปู่จะพักผ่อนจนถึงเวลาประมาณ  ๐๒.๐๐  น.  เมื่อตื่นแล้วเดินจงกรม  หลังจากนั้นจะเข้าไปที่ห้อง  วัตถุมงคล  สวดมนต์ปลุกวัตถุมงคล  และเข้าไปที่ห้องน้ำมนต์ทำการสวดมนต์  ทำน้ำมนต์  จนถึงเวลาประมาณ  ๐๔.๐๐ – ๐๕.๐๐  น.  จะรอรับญาติโยมที่มาขอพรพึ่งบารมี  โดยมาทำพิธีสะเดาะเคราะห์  จนถึงเวลา  ๐๗.๐๐  น.  จะฉันภัตตาหารเช้า  แล้วรับญาติโยมที่มาขอพรพึ่งบารมี  จนถึงเวลา  ๑๑.๐๐  น.  หลวงปู่จะฉันภัตตาหารเพลต่อจากนั้นหลวงปู่จะพักผ่อนจนถึงเวลา  ๑๔.๐๐  น.  หลวงปู่จะออกมารับญาติโยมต่อ  หากไม่มีญาติโยมมารับ  หลวงปู่จะเดินรอบ ๆ วัด  ดูความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และจะดูการทำงานของญาติโยมที่ช่วยพัฒนาวัดจนถึงเวลาประมาณ  ๑๖.๐๐  น.  หลวงปู่จะเรียกโยมอุปัฏฐากมารับปัจจัย  ไปดูแลญาติโยมหากมีสิ่งของเหลือ  จากที่ญาติโยมนำมาถวาย  หลวงปู่จะแจกจ่ายให้ไปจนหมดต่อจากนั้น  หลวงปู่จะเตรียมเข้าจำวัด  พักผ่อนต่อไป  ซึ่งกิจวัตรประจำวันเช่นนี้  หลวงปู่กระทำมาโดยตลอด ”
หลวงปู่สอนไว้ 
                หลวงปู่เคยเล่าให้ฟังว่า  การเคารพบูชาวัตถุมงคลใดใด  อยู่ที่จิตใจความเชื่อถือ  ศรัทธา  เลื่อมใสด้วยจิตที่บริสุทธิ์จึงจะเป็นผล  หรือเป็นคุณแก่ผู้มีวัตถุมงคลจะช่วยส่งเสริมคนที่ปฏิบัติดี  ปฏิบัติชอบ  หากผู้มีวัตถุมงคล  แม้จะได้ชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์แค่ไหนก็ตาม  ถ้าไม่เคารพนับถือ  ไม่เชื่อศรัทธาไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว  ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
ความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างจริงใจทำให้สำเร็จ 
                การแสดงความเคารพนับถือ  เชื่อมั่นศรัทธา  เลื่อมใส  หรือปฏิบัติดีชอบในวัตถุมงคลนั้น ๆ ท่านบอกว่าให้นึกภาวนาในใจตลอดเวลาที่เรามีวัตถุนั้นเสมือนหนึ่งมีท่านอยู่กับเราตลอดเวลา  ท่านจึงจะคุ้มครองเรา  และเราก็คิดว่าถ้าเราทำมิดีมิชอบพระก็จะไม่คุ้มครองเรา  เมื่อเราตรึกตรองให้ดี  ในการทำดี  พูดดี  ก็หมายถึงการมี  สติสัมปชัญญะ  คือ  มีสมาธิ  ความสงบ  ความนิ่ง  จิตใจไม่วอกแวก  ไม่วิตกกังวลไม่ทุกข์ร้อน  เราก็จะมีแต่ความสงบเย็น  ความสงบเย็นนี้แหละคือความสุขที่แท้จริงดัง  พุทธสุภาษิตที่ว่า           “ นตฺถิ  สนฺติ  ปรมํ  สุขํ ”  ความสุขอื่นกว่าความสุขไม่มี
ความเป็นอยู่ของหลวงปู่ 
                หลวงปู่เจียม  อติสโย  ท่านมีความเป็นอยู่อย่างสมถะ  เรียบง่าย  มีจริยาวัตรที่งดงามด้วยท่านเคร่งครัด  ปฏิบัติชอบในธรรมวินัย  ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย  ท่านจะบำเพ็ญสมาธิ  เจริญภาวนา  มีญาณที่แก่กล้า  เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง  เลื่องลือทั่วดินแดนอีสานใต้  ท่านจะมีลูกศิษย์ทุกระดับชั้นตั้งแต่ชาวบ้านธรรม  ทหารหาญ  พ่อค้า  ข้าราชการ  เจ้านายระดับสูง  เมื่อได้เข้ามากราบไหว้บูชาหลวงปู่แล้วก็จะเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง  หลวงปู่ก็จะมีวัตถุมงคลให้เป็นการส่งเสริมมงคลให้สูงยิ่งขึ้น  เป็นมหานิยมบ้าง  โชคลาภบ้าง  แคล้วคลาดบ้างหรือสะเดาะเคราะห์  ตัดเคราะห์ให้เบาลงไปบ้าง
                ในเรื่องวัตถุมงคลนี้  ผู้เขียนเคยสอบถามหลวงปู่ว่า  คิดอย่างไรในเรื่องการสร้างวัตถุมงคล  หลวงปู่ตอบว่า  แต่เดิมหลวงปู่ไปธุดงค์แถบจังหวัดจันทบุรี  จังหวัดฉะเชิงเทรา  และจังหวัดสมุทรปราการ  หลวงปู่ได้ไปพบกับเกจิอาจารย์  เช่น  หลวงพ่อคง  ที่อำเภอขลุง  หลวงพ่อต่วน  ที่อำเภอทับไทร  หลวงพ่อจาด  ที่อำเภอบางกระจับและหลวงพ่อเหลือที่วัดสาวชะโงก  ซึ่งเกจิอาจารย์ท่านดังกล่าวได้สร้างตะกรุดให้ญาติโยมไว้บูชา  ต่อมาหลวงปู่ไปธุดงค์แถบจังหวัดอุบลราชธานีจะมีญาติโยมมากราบหลวงปู่และขอวัตถุมงคลหลวงปู่  จึงจารแผ่นทองแดงถักด้ายขาวล้อมรอบตะกรุดมอบให้แก่ญาติโยมที่มาทำบุญ  ต่อมาผู้นำสายร่มมาถวายแก่หลวงปู่  หลวงปู่จึงปรับเปลี่ยนมาร้อยด้วยสายร่มแทน  ตราบเท่าทุกวันนี้
                การสร้างตะกรุดหลวงปู่มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบให้แก่ทหาร  ที่มาปฏิบัติหน้าที่แถบชายแดน  จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี  จังหวัดบุรีรัมย์  จังหวัดศรีสะเกษ  ซึ่งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารหาญ  มีผู้กล่าวถึงพระบารมีวัตถุมงคล  ของหลวงปู่ต่าง ๆ นานา  ซึ่งผู้เขียนไม่ขอนำมากล่าว    ที่นี้
                ส่วนรูปเหมือนและพระผงนั้น  หลวงปู่ได้บอกว่าครั้งเมื่อหลวงปู่เดินธุดงค์ไปที่จังหวัดนครสวรรค์ไปพบกับหลวงพ่อจอย  วัดเขาขาด  อำเภอลาดยาว  จังหวัดนครสวรรค์  ได้สนทนาเรื่องการสร้างรูปเหมือน  ให้ญาติโยมไว้บูชา  หลวงปู่เห็นรูปแบบการสร้างจึงนำมาสร้าง  เพื่อให้ญาติโยมไว้บูชา  ซึ่งหลวงปู่ได้สร้างตั้งแต่ปี  ๒๕๑๘  เป็นต้นมา  ศิษยานุศิษย์ที่มีไว้บูชา  ได้กล่าวถึงบารมีของวัตถุมงคลโดยเฉพาะ  สมเด็จวัดอินทราสุการาม  และเหรียญรุ่น  ๑  ว่ามี  บารมีคุ่มครองมากมาย  ในฐานะที่ท่านทั้งหลายเป็นพุทธศาสนิกชน  และเป็นศิษย์ของหลวงปู่เจียม  อติสโย  “ พระครูอุดมวรเวท ”  ในโอกาสอันเป็นมงคลที่หลวงปู่มีอายุครบ  ๘๙  ปี  ในปี  ๒๕๔๒  นี้  จึงขออนุโมทนาสาธุ  ในบุญบารมีของหลวงปู่ที่ได้สั่งสมตลอดมาจึงเป็นปัจจัยหนุนนำให้หลวงปู่มีพละกำลังสร้างบารมีแผ่ไพศาลตลอดไป

คาถาบูชาวัตถุมงคลหลวงปู่เจียม อติสโย

พระคาถาบูชาระลึกถึงหลวงปู่
นะโม (3จบ)
หลวงปู่เจียม อติสโย มหาลาโภ
มหาลาภัง ภะวันตุเตฯ
พระคาถาบูชาวัตถุมงคลหลวงปู่เจียม อติสโย
โสมานะ  กะริโห
อิสะวาสุ  สุสะวาอิ
สะวาอิสุ  หัตสะแท

หนังสือประวัติหลวงปู่เจียม อติสโย ปี2542 แจกอายุครบรอบ 89 ปี


หนังสือประวัติหลวงปู่เจียม อติสโย ฉบับปี2542ฉบับนี้เป็นต้นฉบับของหนังสือที่จัดทำแจกในพิธีรดน้ำศพหลวงปู่

หนังสือประวัติหลวงปู่เจียม อติสโย ปี2549 แจกพิธีรดน้ำศพหลวงปู่