วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติหลวงปู่เจียม อติสโย

 ประวัติหลวงปู่เจียม อติสโย
             หลวงปู่เจียม อติสโย เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเป็นยอดพระเกจิอาจารย์แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือรูปหนึ่ง เป็นนักบุญแห่งอีสานใต้ ท่านเป็นพระผู้เข้มขลังทางพระเวทย์ มีตบะสมาธิ และมีวิธีญานอันแกร่งกล้าจนเป็นที่กล่าวขานยกย่องยอมรับในหมู่ทหารหารที่ปฎิบัติราชการตามแนวประเทศไทย-กัมพูชา ตลอดทั้งบรรดาศิษยานุศิษย์ ญาติโยมที่รู้จักทั้วไป
        หลวงปู่เจียม อติสโย  เกิดวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2454 ตรงกับวันขึ้น 15ค่ำเดือน 1ปีกุน ณ บ้านดองรุน ต.ปะเตียเนียง อ.มงคลบุรี  จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา
        หลวงปู่เป็นบุตรของ นายคำ เดือมคำ  กับนางรุน เดือมคำ  มีพี่น้องร่วมบิดามารดา  เดียวกัน 4 คนคือ
         1 นายเจียม นวนสวัสดิ์ (หลวงปู่เจียม อติสโย)
         นางคำ วันยิง (ขณะนี้กำลังอยู่ในประเทศกำพูชาประชาธิปไตย)
         3 นายคำ ยิว   (ถึงแก่กรรมแล้ว)
         4 นางคำ กิว   (ถึงแก่กรรมแล้ว)
         หลวงปูเจียมเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนประจำอำเภอมงคลบุรีเมื่ออายุประมาณ10ขวบได้เรียนทั้งภาษาเขมรและภาษาฝรั่งเศสตามที่หลักสูตรกำหนด  ในขณะนั้นประเทศเขมรหรือกัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศส  เมื่อเรียนจบชั้นประถมแล้ว  ได้สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในตัวจังหวัดพระตะบอง  แต่เรียนได้เพียงสามเดือน  ก็ต้องออกจากโรงเรียนเนื่องปัญหาทางด้านเศรษฐกิจความยากจนและความเดือนร้อนอันเป็นผลเกิดจากภาวะสงครามและการสู้รบในขณะนั้น  เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว  หลวงปู่ได้ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวโดยทำนาเป็นอาชีพหลัก  และยังประกอบอาชีพการค้าเพิ่มเติบ  เช่น ค้าข้าว ค้าวัว รวมทั้งเป็นช่างไม้ด้วยซึ่งทำให้ฐานะทางครอบครัวของหลวงปู่มั่นคงยิ่งขึ้น  หลวงปู่ได้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างราบรื่นตลอดมา จนกระทั้งหลวงปู่มีอายุเข้าวัยกลางคน
          เนื่องจากประเทศเขมรขณะนั้นตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส หลวงปู่เป็นคนหนึ่งที่มีความรักชาติแผ่นดินและรักบ้านเกิดต้องการให้ประเทศชาติมีอิสรภาพและเอกราช  จึงได้เข้าร่วมร่วมมือกับชาวเขมรรักชาติ”กลุ่มเขมรเสรี”จัดตั้งกองกำลังเพื่อกอบกู้ประเทศชาติโดยปฏิบัติการสู้รบกับทหารฝรั่งเศสและผู้ให้การสนับสนุน  ซึ่งส่วนมากจะสู้รบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา   จากการปะทะและสู้รบกับฝ่ายที่มีกำลังเหนือกว่าหลายครั้ง ทำให้กลุ่มเขมรเสรีถูกปราบปรามอย่างหนักเพราะกำลังบางส่วนต้องหลบหนีซ่อนตัวอยู่ตามป่าเขา และกำลังบางส่วนได้หลบหนีเข้ามายังเขตจังหวัดชายแดนประเทศไทย แต่ละคนต้องหนีเอาตัวรอดจากบ้านเรือนถิ่นที่อยู่และครอบครัวอันเป็นที่รัก คิดว่าสักวันหนึ่งเมื่อมีความพร้อมและรวมตัวกันได้ จะกลับมาต่อสู้เพื่อ กอบกู้เอกราชของประเทศเขมรต่อไป
      หลวงปู่ได้เข้ามาประเทศไทย ทางเขตชายแดนจังหวัดสุรินทร์ประมาณ พ.ศ.2485  โดยเข้ามากับพระสงฆ์ชาวเขมรชื่อพระครูดีได้เดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆค่ำไหนก็นอนที่นั้น  จนในที่สุดก็เดินทางมาถึงหมู่บ้านจารพัต  อ.ศรีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์  ได้เข้าพักอาศัยอยู่ที่วัดบ้านจารพัต(อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านจารพัตเป็นเวลา1คืน รุ่งเช้าเดินต่อมาถึงบ้านราม และได้พักอาศัยที่บ้านของครูเติมประมาณ 3 คืน จากนั้นเดินทางต่อมาถึงบ้านบรมสุข และพักอาศัยอยู่กับบ้านครูจุมซึ่งเป็นญาติกับนายเมาออกจากบ้านบรมสุข แวะที่บ้านมะลูจรุง(ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านบรมสุขและได้แยกทางกับพระครูดีที่บ้านมะลูจรุงความตั้งใจของหลวงปู่ขณะนั้นคือ จะกลับประเทศเขมรเพื่อกอบกู้บ้านเมืองต่อไป หลวงปู่ได้เดินทางผ่านบ้านทัพกระบือ บ้านตราด บ้านลำดวน และพักที่วัดทักษิณวารีศิริสุข (วัดใต้)ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อหว่าง ต่อมาอาจารย์ขัน คุณแม่เฮียะ ปานเจริญ คุณพ่อเภา คุณแม่เสน คงวัน โยมอุปัฏฐากหลวงพ่อหว่างได้ขอเป็นเจ้าถาพจัดพิธีอุปสมบถให้กับโยมเจียม (หลวงปู่เจียม)ในวันที่4เดือนกุมภาพันธ์พ.ศ.2501เวลา10.55ตรงกับวันขึ้น15ค่ำเดือน3 หลวงพ่อหว่าง ธัมมโชโต เป็นพระอุปชฌาย์ พระครูเปรม วัดบ้านจารย์กับพระครูยิ้มวัดหนองโย­-โคกปืด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ขณะนั้นหลวงปู่อายุได้46ปี
    หลวงปู่ได้จำพรรษาแรกที่วัดทักษิณวารีศิริสุข ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงพ่อหว่าง ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่มีวัตรปฎิบัติอย่างเคร่งครัดนอกจากนั้นแล้วหลวงปู่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงพ่อเปราะ” “หลวงพ่อนตที่วัดสุวรรณรัตน์ (วัดเหนือ)ซึ่งเป็นวัด ในหมู่บ้านลำดวน ต่อมาหลวงพ่อทั้งสองแนะนำให้หลวงปู่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หลวงพ่อมินเจ้าสำนักวัดคฤห์ในจังหวัดสุรินทร์   ซึ่งป็นพระนักปฎิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำและความเมตตาจากหลวงพ่อมินเป็นอย่างดี หลวงปู่ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและฝึกปฎิบัติที่ครูอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเป็นอย่างดียิ่งภายหลังจากออกพรรษาแล้วหลวงปู่ได้กราบลาหลวงพ่อหว่าง เพื่อเข้าปริวาสกรรมและออกธุดงค์เพื่อประพฤติปฎิบัติธรรมตามแนวทางที่เรียนรู้มา  โดยครั้งแรกออกธุดงค์ตามเส้นทางไปยังเขตจังหวัดปราจีนบุรี นครนายกสระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร  สุโขทัย  พิษณุโลก  พิจิตร เพชรบูรณ์  ย้อนกลับมาทางลพบุรี สระบุรีอีกครั้ง และเลยไปถึงจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง อำเภอศรีราชา ข้ามไปอำเภอเกาะสีชัง และกลับเข้ามาในตัวจังหวัดชลบุรีอีกครั้ง ขณะที่หลวงปู่จะธุดงค์กลับจังหวัดสุรินทร์ โยมคนหนึ่งนิมนตพระจากอำเภอศรีราชา 2 รูป ผ่านมาและพบหลวงปู่เข้า จึงได้นิมนต์หลวงปู่ให้ไปจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์เขาหลุมยาง  อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ซึ่งหลวงปู่ได้ไปจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์เขาหลุมยาง1พรรษา เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้เข้าปริวาสกรรมที่วัดสาวชะโงกกับอาจารย์สี พระอาจารย์เชื้อ และออกธุดงค์มาทางเขตอำเภอพนมสารคาม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี ได้จำวัดที่โรงทานบริเวณต้นโพธิ์2คืนธุดงค์เข้าจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก ได้จำวัดที่วัดป่ามะไฟจังหวัดนครนายก1คืน รุ่งเช้าออกธุดงค์ไปทางเขตอำเภอหินกอง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี  ผ่านไปจังหวัดลพบุรี ได้ไปจำวัดอยู่ค่ายโคกกระเทียม  ออกจากโคกกระเทียม ธุดงค์ไปทางโคกสำโรง อำเภอตากฟ้าพร้อมกับพระสงฆ์ 4 รูป  คือพระอาจารย์สี  พระอาจารย์เชื้อ  พระอาจารย์เย็นและพระอาจารย์สว่าง  ออกจากอำเภอตากฟ้าธุดงค์ไปทางจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ในเขตอำเภอลาดยาว เข้าจังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ผ่านอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ลงมาเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอำเภอแม่สอด ซึ่งขณะนั้นอยู่ในช่วงปีพ.ศ.2502ออกจากจังตากลงมาทางกำแพงเพชร ชัยนาท สุพรรณบุรี กาณจบุรี ในขณะที่เดินผ่านจังหวัดกาณจนบุรีได้ศึกษาธรรมะกับหลวงพ่ออุตมะ รัมโถภิกขุ วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรีด้วย จากกาณจนบุรี ธุดงค์ผ่านมาทางจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร อำเภอสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา อำเภอกบินทร์บุรี(จังหวัดปราจีนบุรี) (อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา) อำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง อำเภอประโคนชัย (จังหวัดบุรีรัมย์) บ้านบักดอก นิคมสร้างตนเองอำเภอปราสาท (จังหวัดสุรินทร์) เพื่อกลับมาจำพรรษาที่วัดทักษิณวารีสุข หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่อีก 1 พรรษา ในปีพ.ศ.2503
       เมื่อออกพรรษาหลวงปู่ได้ไปสมาทานที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรีประมาณ 1 เดือน ก็ออกธุดงค์ไปยังวัดสาวชะโงก และจังหวัดอื่นๆอีกหลายจังหวัดและก็กลับมาจำพรรษาที่วัดทักษิณวารีศิริสุขในปีพ.ศ.2504 เมื่อออกพรรษาพรรษาหลวงปู่ก็ออกธุดงค์สมาทานอีกเช่นเดิม และเมื่อใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่ก็จะกลับจำพรรษาที่วัดทักษิณวารีศิริสุขอีกเช่นเคย(ปีพ.ศ.2505) หลังจากออกพรรษาแล้วหลวงปู่กราบลาหลวงพ่อไปจำพรรษาอยู่ที่วัดปราจีนบุรี 1 พรรษา(คือในปีพ.ศ.2506)และเมื่อออกพรรษาแล้วได้พาญาติโยมนำกฐินมาทอดถวายที่วัดสุวรรณรัตน์ (วัดเหนือ) และขอจำพรรษาอยู่ที่วัดสุวรรณรัตน์ในปีพ.ศ.2507 หลวงปู่ได้วนเวียนวัตรปฎิบัติเช่นนี้อย่างต่อเนื่องทุกปี คือพอออกพรรษาก็จะออกธุดงค์ และเมื่อใกล้จะฤดูเข้าพรรษา  หลวงปูก็จะกลับมาจำพรรษาอยู่เช่นนี้เรื่อยไป  เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า13ปี ช่วงระยะเวลาดั้งกล่าวหลวงปู่ได้ธุดงค์ไปเกือบทุกภูมิภาคทุกจังหวัดในประเทศไทย ได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม ได้ฝึกปฎิบัติด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้พบปะสนทนาแลกเปลียนแนวทางในการประพฤติปฎิบัติธรรมกับพระอาจารย์ต่างๆหลายรูป เช่น อาจารย์คำษา ในเขตอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย อาจารย์คำปัน ในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมอาจารย์วงษ์ ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี เป็นต้น
   ในระยะหลังตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 หลวงปู่จะจำพรรษาอยู่ที่วัดสุวรรณรัตน์ (วัดเหนือ) เท่านั้น และประมาณช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2513 ภายหลังที่หลวงปู่ได้กลับจากธุดงค์แล้ว โยมเดียม โยมบาน โยมสมร ผู้ใหญ่พานได้ไปนิมนต์ให้หลวงปู่มาสร้างสำนักสงฆ์ที่หมู่บ้านหนองยาว ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2513 และไดจำพรรษาที่สำนัดสงฆ์แห่งนั้นด้วยซึ่งต่อมาสำนักสงฆ์แห่งนั้นคือวัดอินทราสุการามในปัจจุบัน
      การมรณภาพ
ย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงปู่เจียมเริ่มมีอาการเหน็ดเหนื่อย สายตาพร่ามัว ประสาทหูฟังไม่ค่อยชัด คณะศิษยานุศิษย์ได้นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ ครั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล หลวงปู่เจียมก็ยังต้องรับกิจนิมนต์จากชาวบ้านญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขไม่เว้นแต่ละวัน บ้างต้องไปนั่งประพรมน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้ลูกศิษย์ลูกหาสม่ำเสมอ
    กระทั่งเมื่อเวลา 16.59 นาฬิกา ของวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2549 คณะศิษยานุศิษย์วัดอินทราสุการาม ได้ตีระฆังรัวกลองเป็นชุด เพื่อแจ้งเหตุว่า บัดนี้ชาวเมืองสุรินทร์ได้สูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญ คือ หลวงปู่เจียม อติสโย ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคไตวาย ภายในกุฏิวัดอินทราสุการาม หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการอาพาธจากโรคไตมาเป็นเวลานาน ประกอบกับวัยที่ชราภาพมาก สิริอายุรวม 96 พรรษา 47 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เคารพนับถือเป็นยิ่งนัก
คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์รวมไปถึงชาวบ้านได้นำร่างหลวงปู่บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งไว้ ณ ศาลาการเปรียญวัดอินทราสุการาม เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้รำลึกถึงคุณงามความดี สำหรับกำหนดการเบื้องต้น จะมีการบรรจุศพหลวงปู่เจียมที่วัดอินทราสุการาม เป็นเวลา 15 วัน เพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้ร่วมบำเพ็ญกุศลโดยทั่วกัน